พระเจ้าตากเกรียงไกร หลากหลายชาติพันธุ์
หลากชาติพันธุ์แห่งขุนเขาพะวอ
ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายซับซ้อนของทางภาษาและชาติพันธุ์ ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทยจำนวนกว่า70ชาติพันธุ์ ส่วนมากอาศัยอยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย เราจึงจะมานำเสนอชาติพันธุ์ในจังหวัดตากค่ะ
ม้ง
ม้ง ประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดของคนม้ง สันนิษฐานจากการตีความตำนาน เรื่องเล่า บันทึก ประเพณี ความเชื่อ พิธีกรรม และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม สามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง คือ 1) มีต้นกำเนิดมาจากดินแดนขั้วโลกเหนือ อพยพผ่านไซบีเรียและมองโกเลียเข้ามายังตอนเหนือของจีน 2) มีต้นกำเนิดอยู่ในมองโกเลียในปัจจุบัน 3) เป็นกลุ่มคนดั้งเดิมในบริเวณทะเลเหลืองของประเทศจีน ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยช่วงศตวรรษที่ 19 เดิมชาวม้งมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงธรรมชาติด้วยการปลูกพืชพื้นบ้านและเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพในการปลูกพืชเชิงพานิชย์เพื่อตอบสนองระบบตลาด นอกจากนี้ ชาวม้งบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงอาชีพหันไปค้าขายและเป็นผู้ประกอบการในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว
อาข่า
กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีภาษาอยู่ในตระกูลจีน – ทิเบต มีประชากรประมาณ 50,000 คน ประชากรอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก เพชรบูรณ์ ซึ่งจังหวัดที่มีชาวอาข่าอาศัยอยู่มากที่สุดคือจังหวัดเชียงราย เฉลี่ยประมาณ 60 % ของชาวอาข่าในประเทศไทยทั้งหมด
กะเหรี่ยง
ปกาเกอะญอ เดิมตั้งถิ่นฐานในลุ่มน้ำสาละวิน หลังจากเกิดการสู่รบระหว่างไทยกับเมียนมาในศตวรรษที่ 17 ทำให้คนกลุ่มนี้ถูกกวาดต้อนมายังประเทศไทย เป็นกลุ่มคนที่มีองค์ความรู้ในการทำไร่หมุนเวียนและทำนา หลังจากการพัฒนาสู่ระบบทุนนิยม ได้ส่งผลให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงจากการผลิตเพื่อยังชีพเป็นการผลิตเพื่อขาย บางชุมชนเริ่มหันไปปลูกพืชเชิงเดี่ยว ในขณะที่ชาวปกาเกอะญอมีความพยายามยืนหยัดในการดำรงชีพด้วยระบบไร่หมุนเวียนซึ่งสะท้อนความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
ชื่อเรียกว่า "กะเหรี่ยง" ของปกาเกอะญอนั้นถูกเชื่อมโยงกับวาทกรรมชาวเขาที่มีนัยยะด้อยพัฒนาและล้าหลัง ส่งผลให้ถูกเบียดขับในสังคม
มูเซอ
มูเซอหรือลาหู่ เดิมตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบสูงทิเบต - ชิงไห่ มีเชื้อสายมาจากชาวโลโล ต่อมาคนไทใหญ่และจีนได้เข้าครอบครองพื้นที่ ชาวลาหู่จึงอพยพลงมาทางมณฑลยูนนานบริเวณแม่น้ำสาละวินกับแม่น้ำโขงจากนั้นอพยพเข้ามาในประเทศไทย ประมาณ พ.ศ. 2418 ด้วยเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ เมียนมา เมื่อเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทย ได้ตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และตาก คนกลุ่มนี้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยวิธีที่หลากหลาย ทั้งการใช้พิธีกรรมบำบัด การใช้สมุนไพร การใช้โภชนบำบัด การใช้ความร้อน กัวซาบำบัด เหรียญฝรั่งประคบ และการรักษาด้วยการแพทย์สมัยใหม่
เย้า
อิ้วเมี่ยนหรือเย้า มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณภูเขาสูงของประเทศจีน อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ฯลฯ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจีนอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการสร้างตัวอักษรที่มาจากตัวอักษรฮั่น การรับเอาลัทธิเต๋ามาผสมผสานกับความเชื่อต่อผีบรรพบุรุษ การอพยพย้ายถิ่นทำให้ชาวอิ้วเมี่ยนมีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมควบคู่กับการรักษาวิถีวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยเฉพาะการแต่งกายด้วยการตกแต่งเครื่องประดับเงิน ด้านวิถีชีวิตดั้งเดิมมีการทำไร่หมุนเวียน มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อทำพิธีกรรม รวมทั้งการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำเครื่องเงินและปักผ้าที่มีลวดลายอัตลักษณ์สวยงาม
ข้อดีของBlogger
1.เจ้าของเว็บบล็อกมีอิสระในการนำเสนอ
2. ใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
3. ใช้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความคิด การทำงาน และแหล่งหาความรู้
ข้อเสียของBlogger
1.เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือตัวบททางกฎหมาย อาจมีความเชื่อถือน้อย
2.เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อกก่อกวน
3.เนื่องจากบล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ อาจมีการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม เข้าข่ายผิดกฎหมาย รวมถึงการใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม
แหล่งอ้างอิง: https://ethnicity.sac.or.th/database-ethnic/206/
https://www.langarchive-th.org/th/collection/akha
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น